#ฉบับ Online ฉบับ มมร.91 ฉบับภาษาสยาม.
กถา สัตตักขัตตุปรมกถา
[๑๔๙๒] สกวาที บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด
๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลง
ชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้าย ยังพระโลหิตของ
พระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๓] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗
ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้
ธรรมในระหว่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้
ธรรมในระหว่าง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น ได้ปลงชีวิตมารดา ได้
ปลงชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิต
ของพระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๔] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗
ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ
เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง
เป็นอย่างยิ่ง มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๕] ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ
เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้
ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้
สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง
[๑๔๙๖] ส. สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตัก-
ขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า โพชฌงค์ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้
สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
[๑๔๙๗] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด
๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ด้วยสกทาคามีนิยม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยอนาคามีนิยม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยอรหัตนิยม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยนิยมอะไร ?
ป. ด้วยโสตาปัตตินิยม.
[๑๔๙๘] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด
๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ก้าวลงสู่โสตปัตตินิยม ชน
เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยง
ต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นสัตตักขัตตุปรมะ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗
ครั้งเป็นอย่างยิ่ง.
สัตตักขัตตุปรมกถา จบ
ข้อความตามแบบข้อมูล links@copy·th
#อธิบายกถา: ของครูสุชีพ ปุญญานุภาพ ฉบับประชาชน.
คำว่า เที่ยงแท้ มี 2 นัย คือเที่ยงแท้ในทางที่ถูก กับเที่ยงแท้ในทางที่ผิด นิกายอุตตราปถกะ มีความเห็นเพียงแง่เดียวว่า เที่ยงแท้ เพราะจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ ซึ่งกินความหมายคลุมไปไม่ถึงผู้เที่ยงแท้ในทางที่ผิด จึงมีการซักให้นึกถึงแง่ที่ผิดด้วย.
2 ความคิดเห็น:
Phra Phutthawangso
2021年5月3日 上午4:54
Permalink this comment
1
แจ้งเตือน!สมาชิก
เรื่องจำนวน ตัวเลข
อ้างเหตุ บรรทัด ที่๑๕ -๑๖
ข้อนี้? ความ น่าจะว่า ไปเข้าเฝ้า ๑๐๘ แล้วให้ได้ไปกำหนดซึ่งลักษณะมหาบุรุษ นั้น ๘ ,จะว่าความนี้ เป็นเรื่องจำนวน! เท่าไหร่ จะต้องดู แต่สมาชิกเรา เห็นว่า ท่านอาจจะไม่ไปดูบาลี หรือไปดูบาลีมาไม่ดี ตรงนี้ที่แท้ หรือที่ใด ที่อื่นบ้าง ก็ถูกแล้ว แต่ว่า สมาชิกเรา ก็อาจไปว่า ไม่ถูก! แทนที่ ตนจะละเอียดลงไปเรื่องตัวเลขกันบ้าง , ก็เลยจะยิ่งสับสน กันอยู่ ต่อดังนี้เห็นว่า คนจะขวนขวาย หรือ?อาจจะยัง เมื่อไม่ได้ไปตรวจบาลีดูให้ดีอีกที ก็พึงจะหลงไป ไม่เข้าใจตามบทอรรถกถา นั้น ๆ ที่ท่านแสดงไว้ , เช่น ว่า ๑ ร้อย ๘ จะไปที่ ถึงนั้น ว่า! ๘ กำหนดความต่าง เพราะไปว่า ลักษณะ นั้น เพียง ๘ท่าน อีกส่วนหนึ่ง รอสำทับความอยู่ ๑ร้อยท่าน ฉะนั้น!
ข้อนี้ควรไม่ผิด! แต่สมาชิกเรา ลงว่าอาจจะผิด ก็ได้ตามไปตรวจดู อย่าเพ่อว่า เพราะทุกที่เป็นห่วงความ มักง่าย และเพราะเรื่องตัวเลขนี้ ไม่คุ้น จะต้องเตือนตัวเองให้ดี ๆ อุปายกุศล เรา จะต้องไม่งวยงง ไปอยู่
เพราะท่านกล่าวแสดง พูดกันสมัยนั้น เป็นไสตล์โบราณ ไม่พูดเหมือนสมัยนี้ อย่างว่า ๙๑ นี่ เห็นว่า ท่านจะต้องว่า เอกะปัจจะยัสสะ แปลซะว่า ยิ่งกว่าก้าวสิบ ไปอีก ๑ (ปัจจัย) เป็นต้น หรือถ้าหย่อนเท่าไหร่ ท่านก็จะว่า เอกูนะ ดังนี้เป็นต้น จะไม่ได้นับมาตรา หรือว่าอย่างตัวงานเลข ๆ กำหนดฐานคำนวณ มากแต่อย่างใด คือโดยมาก แสดง ไปแบบอาการ เช้าสาย บ่าย หรือเย็น อาจว่าแค่เท่านั้น แต่พอแปลกอาการ ก็เชื่อม หรือกระทำสมบูรณ์ธาตุ แปลงศัพท์ หรือต่อปัจจัย นั้น ๆ ต่อไป เช่น บ่ายนานแล้ว ก็ย่อมว่า บ่ายแก่ ๆ เป็นต้น
ข้อนี้ ขอมาโพสต์ เพราะเหลือกังวล จวนเต็มที่ อยู่รำคาญ!บ้างแล้วบ้าง ไม่ใช่ว่า เห็นอะไรแปลกตา หรืองง หรือหลงลึกความรู้สึก จะต้องเป็นว่า ผิดไปหมด อย่างนั้นไม่ใช่ ต่อที่ยังขัดแย้ง หรือขัดกับความรู้สึก บางทีก็ยังไม่ใช่ เพราะว่า เราเองไม่เข้าใจ การวางท่า หรือวางไสตล์ แบบโบราณ จนกว่า จะต้องสืบไปตามศัพท์ หรือตามเหตุผลทางตัวหนังสือ ให้ดีซะก่อน ลงอย่าได้ห่วงว่า จะตำหนิติเตียนกันไม่ได้ ดั่งเรื่องตัวเลข นี้ สังขยา อรรถะ อธิบาย ให้ลงว่า “atthuttarasatesu เป็นภาษาของเรา ว่า อฏฺฐุตฺตรสเตสุ” จะเป็นไร มา ณ ที่นี้
ก็ย่อม แปลว่า ยิ่งกว่านั้น ๑ร้อย มาอีกกว่า จำนวน ๘ (คือ 108) , ไม่ใช่ว่าเราไปเห็นว่า จำนวนนั้น ไม่เท่ากัน เพราะเรื่องว่า ไสตล์โบราณ ยังไม่เขียนตัวเลข สมัยนั้น ไม่มีการเขียนตัวเลข! แต่เขียนตัวหนังสือเป็นตัวเลข (เช่น หนึ่ง เป็นต้น ไม่ใช่ ว่า ๑) กว่าที่จะรู้ได้ ก็ย่อมนานมากกว่า สมัยที่มีตัวเลข , ฉะนั้น ข้อนี้ ตรวจดูแล้ว จะไม่ให้ผิดได้ ถ้าเราไปดู อรรถกถา เพราะด้วยจำนวน ตรงบทหนึ่ง ๆ นั้น ว่า ...อฏฺฐ พฺราหฺมณา ลกฺขณปริคฺคหณตฺถํ ... ซึ่ง! ก็ต้องเท่ากับว่า มาถึงการณ์ นั้น ๆ มาก! ลงมีจำนวนถึง ๑๐๘ แต่ว่า เข้าว่าการณ์ (เรื่องนั้น ๆ) จำนวน ๘ , ความเรื่อง ย่อมจะไม่ใช่การเขียนผิด หรือท่าน ทำหกตกหล่น ไปจากประการแรก ที่ว่ามานั้น แต่อย่างใดเลย
ดูอ้าง ฉบับ มมร ๕๒/๔๙๒.
Phra Patjoto
2022年4月13日 下午9:43
Permalink this comment
1
“สำเร็จ!ความดีตามความดีของหนังสือข้อที่๘๐,
ฉะนั้น!จงสรรพสัตว์สรรพสิ่งชีวิตอย่างไรก็เถิดขอท่านได้จงมีความสุขพ้นทุกข์”
.......
· แต่ธรรมเขียนผิดพิมพ์ผิด
· ฉะนั้น ในพระธรรมขันธ์
· ธรรม ณ ที่พัฒนาปรับปรุงไว้
.......
มีนกหนู มีอยู่เป็นสมบัติ
ครั้งใดหัดแต่รานแต่ฟันทิ้ง
คราครั้งนั้นก็ผันแต่ไม่จริง
เพราะรานกิ่งสิ่งแต้มทาสถาวร
อ่านองค์ผิดคิดไม่ตรง องค์สมบูรณ์
โพยมบูญพูนไหนชาด โอภาสศร
ขันธกสุญญาพระพรหมอร
ทินกรพระส่องแสงไม่แย้งตา
ให้รู้ให้เห็นว่าเป็นชาติ
เกิดผิดพลาดแม้นไรมีเท่าเห็บหมา
แม้เล็กแรงเช่นแมงหวี่กระพือพา
แทงดวงตาคเชนทร์ชัยให้ตกมันต์
ไชยชาติธาตุชำนันต้องตกเหว
ตรงล้มเหลวเพราะผิดเช้าค่ำนั่น
ชั่วแต่คมเช่นดั่งหอกออกพัลวัน
ไยดีกันแต่แค่ซ้อง (?ไย) มัวหมองเอง?
.......
發佈留言